หลังประกันหน้า.....หลักการนี้ใช้ได้เสมอสำหรับพระสมเด็จวัดระฆังฯ
หลักการพิจารณาความเก่าที่เป็นธรรมชาติ ที่โบราณจารย์ท่านสั่งสอนไว้ ย่น ยับ ยุบ แยก (๔ ย.) เป็นหลักที่สำคัญในการพิจารณาพระสมเด็จเสมอ โดยเฉพาะร่องรอยต่างๆ ที่เกิดบนด้านหลังพระ
พระเนื้อผงที่มีอายุเกินร้อยปี ธรรมชาติเมื่อพระสูญเสียความชื้น มวลสารประเภทอินทรีย์วัสดุที่ย่อยสลายได้ก็จะสลายไปตามอายุ เนื้อพระจะมีการหดตัวและเกิดขึ้นพร้อมๆ กันทั้งองค์ ร่องรอยตามธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหลุมบ่อ รอยกาบหมาก ร่องกระดาน รอยปริ ตามขอบของร่องรอยเหล่านี้จะไม่มีความคมความกระด้างในสายตา เหมือนขอบคลื่นที่ไม่แตกฝอยในทะเล ผิดกับของเทียมที่ทำขึ้น จะเห็นว่ายังหยาบคมไม่มีความพริ้วของเส้นสายให้เห็น
ถ้าเป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ บรรจุกรุ สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาคือคราบรัก ก่อนที่พระจะบรรจุลงกรุนั้น คนโบราณจะทำการลงรักเพื่อรักษาเนื้อพระให้คงทน พระกลุ่มนี้...ต่อให้ล้างลอกรักให้เกลี้ยง เมื่อนำพระมาลงกล้องส่อง ควรจะต้องเห็นคราบรักตามซอกหลืบรอยแยกบ้าง ไม่มากก็น้อย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น