วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561

พระสมเด็จวัดระฆังฯ บรรจุกรุวัดสะตือพระพุทธไสยาสน์ น่าจะเป็น พระกรุสุดท้ายของการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ มีบันทึกว่าบรรจุกรุเมื่อปีพ.ศ.๒๔๑๔ ก่อนที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ จะสิ้นเพียง ๑ ปี พระกรุนี้แยกแยะได้ด้วยพุทธศิลป์ และธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

แต่พระที่พบก็มีหลายลักษณะ ตามเหตุปัจจัยเช่น ตำแหน่งที่อยู่ในกรุ การชุบรัก การปิดทอง ฯลฯ อย่างเช่นองค์นี้ก็เป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษา เพราะมีลักษณะแปลกเฉพาะองค์หลายประการ

ประการแรก เป็นพระที่ชุบรักน้ำเกลี้ยงเพียงรอบเดียว และผู้ชุบก็ไม่พิถีพิถัน คราบรักไม่เสมอกันทั้งองค์แสดงชัดเจนว่าเป็นการทำด้วยมือคนที่มีทั้งประณีตและทำแบบลวกๆ รักที่แห้งสนิทจนกลายเป็นเนื้อเดียวกับผิวพระ เห็นความแกร่ง ร่องรอยการหดตัวเป็นธรรมชาติของพระที่เก็บในกรุนับร้อยปี โดยเฉพาะบริเวณเส้นซุ้มเรือนแก้วจะเห็นการหดตัวได้ชัดเจน

อีกประการที่น่าสนใจ คือคราบแคลไซค์ หรือน้ำปูนที่ซึมออกมาติดแน่นอยู่เหนือคราบรักแสดงความเก่าได้อายุ คราบแบบนี้ถ้านำพระไปแช่น้ำจะเลือนหายไป แต่เมื่อแห้งคราบจะกลับมาเหมือนเดิม คราบติดแน่นไม่สามารถปัดออกได้ เว้นแต่จะขูดทิ้งซึ่งน่าจะเปิดผิวพระออกไปด้วย เห็นว่าประเด็นนี้น่าสนใน ผู้เขียนจึงนำภาพที่ขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์ ขยายขนาด 40 และ 100 เท่ามาให้ชมประกอบการศึกษา


บริเวณวงกลมแดง คือจุดที่ขยายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์






ไม่มีความคิดเห็น: