วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

-:- การถ่ายรูปพระสมเด็จ -:-

ถามเข้ามากันบ่อยๆ เรื่องการถ่ายภาพพระสมเด็จ จึงขอนำประสบการณ์ของตนเองมาเล่าสู่กันฟัง หลายๆ ท่านก็ถ่ายภาพได้สวยมาก และอาจจะมีเท็คนิคต่างกัน ก็ถือว่านี่เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาหาทางเลือกก็แล้วกัน
1. ช่วงเวลาที่ถ่ายรูปควรเป็นกลางวัน หรือใช้ไฟที่เป็น Cool white จะให้สีของมวลสารตรงตามความเป็นจริง อย่างเช่นมีจุดขาวๆ ก้อนผงกฤติยาคมในเนื้อพระ แต่ถ่ายไฟนีออนจะเป็นสีอมฟ้า แต่ถ้าสีที่ถ่ายออกมายังเพี้ยนจากความจริง ก็สามารถปรับที่ตัวกล้อง ซึ่งกล้องแบบ DSLR จะมีฟังชั่นในการปรับ White balance ได้


2. การเลือกพื้นฉากในการถ่าย ให้เลือกพื้นสีเดียว อย่าเลือกสีลายเพราะกล้องจะจับค่าเฉลี่ยของสีทำให้สีที่ถ่ายออกมาเพี้ยนได้ อย่างพระเนื้อวรรณะสีเหลือง แต่ถ่ายออกมาจะเป็นสีอมเขียว
3. การถ่ายภาพพระต้องการความนิ่ง จึงควรใช้ขาตั้งกล้องถ่ายรูป หรือใช้แท่นถ่ายภาพ ถ้ามีสายลั่นชัตเตอร์ด้วยจะเพิ่มความนิ่งเวลากดชัตเตอร์ หรือจะใช้การตั้งเวลาถ่ายอัตโนมัติ จะได้ภาพที่คมชัด
4. มุมกล้องให้วางพระราบไปกับพื้น แล้วจัดกล้องให้ขนานไปกับองค์พระ ในแบบ Topview หรือมองจากมุมบน
5. การจัดทิศที่แสงเข้า ให้แสงเข้าทางเดียวคือทางด้านบนซ้ายขององค์พระ (10-11 นาฬิกา) จะทำให้เห็นมิติขององค์พระ จะเห็นเงาดำในอีกฟากของแสง หรือของรักแร้ ความลึกของซุ้มเรือนแก้ว การนูนของฐานพระทั้ง 3 ชั้น อันเป็นเอกลักษณะของพระสมเด็จ
6. ความสว่าง อย่าให้สว่างจนเกิดพื้นที่สีขาวจั๊วบนองค์พระ เพราะจะดูรายละเอียดของเนื้อไม่ออก






ไม่มีความคิดเห็น: